วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2554

การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา

เรื่อง         ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา
                  และแนวทางการแก้ไข


เสนอ
อาจารย์ ดร.กวินทร์เกียรติ  นนธ์พละ


โดย
นายอนันต์     แก้วกอ
นักศึกษาปริญญาโท รุ่นที่ 3
ห้องเรียนที่ 2 ศูนย์อุบลราชธานี   กลุ่มที่ 3 เบญจธัญ

รายวิชา      การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี



ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาและแนวทางการแก้ไขหรือป้องกันปัญหา
**********
ด้านที่ 1  คนหรือบุคลากร
      สภาพปัญหา     
        1.  บุคลากรไม่เพียงพอ
        2.  ขาดแคลนบุคลากรที่จบการศึกษาตามวิชาเอก
        3.  บุคลากรไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในกลุ่มวิชาที่สอน
        4.  ครูสอนไม่ตรงตามวิชาเอก/วิชาโท  ตามมาตรฐานการประเมินภายนอก
        5.  บุคลากรเกิดการแบ่งกลุ่ม มีอคติต่อกัน ขาดความร่วมมือ
6.     การจ้างคนไม่เหมาะสมกับงาน
7.     อัตราการออกจากงานสูง
        8.  การพบว่าพนักงานไม่ตั้งใจที่จะทำงานให้ดีที่สุด
        9.  การเสียเวลากับการสัมภาษณ์ที่ไม่ได้ประโยชน์
10.  ทำให้บริษัทต้องขึ้นศาลเนื่องจากความไม่เป็นธรรมของผู้บริหาร
11.  ทำให้องค์กรถูกฟ้องจากการจัดสภาวะแวดล้อมการทำงานที่ไม่ปลอดภัย
12.  การทำให้บุลากรคิดว่าเงินเดือนที่เขาได้รับไม่ยุติธรรม
13.  ไม่ยอมให้มีการฝึกอบรมและการพัฒนา ซึ่งเป็นการทำลายประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหน่วยงาน
14.  การกระทำที่ไม่ยุติธรรมและความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับบุลากร
15.  ผู้ปกครองหรือชุมชนไม่ให้ความร่วมมือหรือไม่ให้ความสำคัญทางด้านการจัดการศึกษา
16.  การยึดมั่นในหลักระบบอุปถัมภ์(Patronage  System)และระบบคุณธรรม(Merit  System)
    แนวทางแก้ไข
         จากปัญหาดังกล่าวควรจะลดระดับของปัญหาและไม่ให้ทุกฝ่ายเกิดความร่วมแรง  ร่วมใจและร่วมมือผลักดันให้ภารกิจบรรลุเป้าหมายขององค์การ
          1. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในกลุ่มสาระวิชาที่สอนหรือวิชาเอก
         2. จัดบุคลากรรับผิดชอบในกลุ่มงานที่มีความสามารถและความถนัดเหมาะสมกับงาน
         3. จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์บุคลากรในหน่วยงาน
         4. จัดสวัสดิการต่างๆให้บริการแก่บุคลากร
         5. ให้บุคลากรในหน่วยงานมีความอบอุ่นใจ มีบรรยากาศแบบมิตรภาพ มีความไว้วางใจ มีความสนิทสนม
รักใคร่กลมเกลียว มีความสามัคคีในหมู่คณะปราศจากความระแวง
         6. ยกย่องชมเชยแก่บุคคลที่ประสบความสำเร็จและมอบเกียรติบัตรตลอดจนมีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานที่หน้าเสาธง ในวารสาร เว็บไซด์  รวมทั้งมอบหมายงานที่สำคัญให้ทำ
         7. สนับสนุนให้เขาไปถึงจุดหมายปลายทางหรือบรรลุศักยภาพแห่งตน
        8. ยกย่องชมเชยและเห็นความสำคัญของชุมชนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและทำให้เขามีความรักในองค์การ
         9.  การดำเนินการเกี่ยวกับตัวบุคคลในองค์กรหรือหน่วยงานทางการศึกษา นับตั้งแต่การสรรหาบุคคลมาปฏิบัติงาน การบรรจุและแต่งตั้ง การพัฒนาบุคคล การประเมินผลการปฏิบัติงานไปจนถึงการพิจารณาให้บุคคลพ้นจากงาน   โดยทั่วๆไปแบ่งเป็น 4 ข้อใหญ่ๆ คือ
9.1  การวางแผนและการกำหนดอัตรากำลัง
9.2  การสรรหาและเลือกสรรบุคลากรทางการศึกษา
9.3  การนิเทศงานและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
             9.4  การประเมินผลการปฏิบัติงานและการให้บุคคลพ้นจากงาน
              9.1  การวางแผนและการกำหนดอัตรากำลัง เป็นการกำหนดปริมาณและคุณภาพของกำลังคนที่ต้องการในอนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวของปริมาณงาน  หรือเป็นการคำนวณ การคาดการณ์ การกำหนดตำแหน่งที่ต้องการ และทำคู่มือตำแหน่งกำลังคน  มีขั้นตอนการวางแผนและการกำหนดอัตรากำลัง มี 3 ขั้นตอน คือ
       9.1.1  ขั้นหาข้อมูลจากสภาพการณ์ปัจจุบัน ว่าขาดบุคลากรด้านใดบ้าง จำนวนเท่าใด
                     9.1.2  ขั้นแสวงหาความต้องการกำลังคนในระยะเวลาที่บ่งเฉพาะในอนาคต โดยพิจารณา ความชำนาญงานระดับการศึกษาและประสบการณ์ของกำลังคนที่ต้องการ
       9.1.3  ขั้นการวางแผนปฏิบัติการเฉพาะ เป็นขั้นการเขียนแผนงานเพื่อเชื่อมโยงขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2
  9.2  การสรรหาและเลือกสรรบุคลากรทางการศึกษา
                         9.2.1  การประกาศรับสมัคร กรมแรงงาน  ก.พ. น.ส.พ.  วิทยุ  โทรทัศน์  อินเตอร์เน็ต
                         9.2.2  การรับสมัคร ให้กรอกใบสมัคร มี ประวัติ  การศึกษา  ประสบการณ์ อาจส่งทางอีเมล์
         9.2.3  การสัมภาษณ์เบื้องต้น รับสมัครแล้วสัมภาษณ์เบื้องต้นก่อน ถ้าไม่ตรงจะได้ตัดออกไม่ให้สมัคร
         9.2.4 การสอบ เป็นการสอบความรู้ความสามารถ เป็นสอบข้อเขียนอาจเป็นข้อสอบปรนัย
หรืออัตนัย และสอบปฏิบัติ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ สอนในชั้นเรียน
        9.2.5  การสอบสัมภาษณ์ สอบหลังจากผ่านการสอบในข้อ 2.4 แล้ว
        9.2.6  การตรวจสอบภูมิหลัง อาจตรวจสอบจากสถานการศึกษา ที่ทำงานเดิมของผู้สมัคร
        9.2.7  การคัดเลือกขั้นสุดท้าย เป็นการประเมินจากขั้นตอนที่แล้ว
        9.2.8  การบรรจุแต่งตั้งเข้าทำงาน อาจให้เลือกหน่วยงานตามลำดับของผลการสอบ
9.3. การนิเทศงานและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา
                       9.3.1  การปฐมนิเทศ แนะนำบุคคล สถานที่ ระเบียบข้อบังคับ
                       9.3.2  การจัดให้ทำงาน จัดตามความรู้ความสามารถ วิชาเอกที่เรียนมา
                       9.3.3  การนิเทศงาน แนะนำการทำงาน การสอน
                       9.3.4  การบำรุงรักษา จัดสวัสดิการ บริการ เช่นห้องพัก ค่ารักษาพยาบาล ความเป็นกันเอง ยกย่องชมเชย
                      9.3.5 การประเมินการปฏิบัติงาน มีความตั้งใจทำงาน ขยัน ซื่อสัตย์ การสอน
                     9.3.6  การพิจารณาความดีความชอบ ผลการประเมินนำมาพิจารณาความดีความชอบ การขึ้นเงินเดือน การปรับตำแหน่ง
                     9.3.7  การพัฒนาบุคคลด้านการฝึกอบรม เชิญวิทยากรมาฝึกอบรม ไปรับการฝึกอบรมที่สถาบันอื่นจัด
                     9.3.8  การพัฒนาบุคคลด้านการศึกษาต่อ สนับสนุนให้ไปศึกษาต่อ
                    9.3.9   การพัฒนาบุคคลด้านการศึกษาดูงาน จัดไปศึกษาดูงานสถาบันอื่น
                    9.3.10 การพัฒนาบุคคลด้านการสัมมนา จัดประชุมสัมมนาทั้งในและนอกสถานที่
                    9.3.11 การพัฒนาบุคคลด้านการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ  เชิญวิทยากรมาบรรยายแล้วฝึกปฏิบัติจริง
           9.4  การประเมินผลการปฏิบัติงานและการให้บุคลากรพ้นจากงาน
                      9.4.1 การประเมินผลการปฏิบัติงาน เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อพิจารณาการโอนย้าย การลงโทษ ให้ลาออก ลดจำนวนบุคคล
                     9.4.2 การโอนย้าย เพื่อเปลี่ยนโรงเรียน อาจมีตำแหน่งเท่าเดิมหรือสูงขึ้น
                     9.4.3 การลงโทษทางวินัย เมื่อมีความผิดอาจภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน ลดขั้นเงินเดือน ให้ออก ปลดออก ไล่ออก
                    9.4.4 การลาออก เนื่องจากมีปัญหาเรื่องสุขภาพ การทำงาน การเดินทางและอื่นๆ
                    9.4.5 การลดจำนวนบุคคลล้นงาน มีงานน้อยแต่มีคนมาก บางโรงเรียนมีนักเรียนน้อยลง ต้องลดจำนวนครู
                   9.4.6 เกษียณ มีทั้งเกษียณก่อนกำหนด และเกษียณอายุราชการตามกำหนด
                   9.4.7 ทุพพลภาพ ได้รับอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยจนทุพลภาพ เจ็บป่วยนานเกินกำหนดวันลา
                   9.4.8 ถึงแก่กรรม อาจถึงแก่กรรมขณะทำงานหรือออกจากงานแล้ว
      10.  ผู้บริหารมีบทบาทและหน้าที่ดังนี้
10.1 เป็นผู้ประสานงานการพัฒนาครู และบุคลากรในหน่วยงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่สถานศึกษานั้นสังกัด
10.2 จัดทำ นโยบาย แผนและแนวทางในการพัฒนาครู และบุคลากรเพื่อนำเสนอสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อพิจารณาอนุมัติ
10.3  ให้คำแนะนำ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติของสถานศึกษาเพื่อให้เป็นไปตามแผนและแนวทางในการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา
10.4  ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและสื่อที่ใช้ในการพัฒนา
10.5  พัฒนาระบบและมาตรฐานการฝึกอบรม
10.6  จัดทำฐานข้อมูลในการพัฒนา
10.7  ประสานการระดมทรัพยากรและแสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งภายในและภายนอกประเทศ
10.8  ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาในส่วนที่เป็นการทดลองนำร่องหรือการพัฒนา
10.9  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
             สรุปได้ว่าคนหรือบุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าเพราะคนเป็นผู้สร้างงาน ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับคนจากความแตกต่างของคน จึงควรมีการสร้างแรงจูงใจตามแนวทางทฤษฎีของอับราฮัม มาสโลว์ หรือทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ( Maslow ) เพื่อให้คนเกิดความพอใจ ความรักในองค์การ เมื่อคนเกิดความพอใจ ความรักในองค์การคนก็จะทำงานให้กับองค์การอย่างมีประสิทธิภาพ
           เกิดประสิทธิผล มีความรักใคร่ความสามัคคี เกิดความร่วมใจร่วมมือไปสู่พลังร่วมกัน จนสามารถผลักดันภารกิจขององค์การให้ไปสู่เป้าหมายในที่สุด
**********
ด้านที่ 2  เงินหรืองบประมาณ
       สภาพปัญหา
          1.  ปัญหาที่พบคือ บุคลากรที่ทำหน้าที่ทางการเงินไม่มีความรู้เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีของโรงเรียน รวมทั้งขาดการนิเทศด้านการบริหารงานงบประมาณ
         2.  การบริหารด้านการเงินและการบัญชี  พบว่า สถานศึกษาบางแห่งได้แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ให้รับผิดชอบทั้งด้านการเงินและการบัญชีในคนเดียวกัน จึงเกิดปัญหาการทุจริตขึ้น
         3.  ชั่วโมงสอนของครูผู้ปฏิบัติงานด้านธุรการ การเงินมาก ทำให้ครูผู้นั้นทำหน้าที่ในงานธุรการการเงินได้ไม่เต็มที่และถูกต้อง
         4.  งบประมาณการศึกษาส่วนใหญ่เป็นหมวดเงินเดือน ทำให้สัดส่วนงบประมาณสำหรับการพัฒนาด้านคุณภาพมีน้อย
        5.  สถิติการทำความผิดวินัยที่เกี่ยวข้องกับการเงินล้วนแต่เป็นผู้บริหารทั้งสิ้น
        6.  ขาดแคลนงบประมาณหรืองบประมาณไม่เพียงพอ
        7.  โครงการบางโครงการไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์เพราะขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณ
        8.  บุคลากรที่ทำหน้าที่ทางการเงินไม่มีความรู้เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีของโรงเรียน รวมทั้งขาดการ นิเทศด้านการบริหารงานงบประมาณ
        9.  การดำเนินการเบิกจ่ายเงินของทางราชการล่าช้า
       10. โรงเรียนไม่ดำเนินการตามแผนจัดสรร
       11.  บริหารงบประมาณไม่เป็นไปตามแผน
        12.  ผู้ปกครองชุมชนมีฐานะยากจนจึงไม่สามารถสนับสนุนด้านการศึกษา
      แนวทางแก้ไข
         จากปัญหาดังกล่าวควรมีการแก้ไขหรือป้องกันเพื่อให้การบริหารจัดการด้านการเงินหรืองบประมาณมีประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
         1. รัฐบาลควรจัดสรรเงินอุดหนุนรายหัวให้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย
           2.  จัดให้มีการระดมทุนทรัพย์ในการจัดการศึกษาจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐและเอกชนให้ได้มีส่วนร่วม
           3.  บุคลากรที่ทำหน้าที่ทางการเงินควรได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความเข้าใจในการเงินการบัญชีของโรงเรียนและควรมีการนิเทศอย่างต่อเนื่อง
           4.  ควรลดขั้นตอนและเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินของทางราชการให้เป็นไปตามกำหนด
           5.  โรงเรียนควรกำหนดมาตรการให้ทำแผนและดำเนินการตามแผนใช้จ่ายงบประมาณให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการที่จัดสรร
           6.  จัดสร้างเครือข่ายระดมทุนทั้งในและนอกชุมชน
            จากปัญหาที่เกิดขึ้นนำเอาทฤษฎีการใช้โรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการ ( School – Based Management ) หลักการมีส่วนร่วม  ทฤษฎีการจูงใจของเฮอร์ซเบอร์ก  ทฤษฎี Y  และการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการพัฒนาในทุกด้านงานในองค์การก็จะมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลบรรลุภารกิจเป้าหมายขององค์การอย่างแน่นอน
**************
ด้านที่ 3  วัสดุ  อุปกรณ์  อาคารสถานที่
   สภาพปัญหา
       1.  การจัดทำทะเบียนวัสดุไม่ถูกต้องตามระเบียบ และไม่เป็นปัจจุบัน
       2.  ปัญหาการขาดแคลนเจ้าหน้าที่วัสดุที่มีความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถ มีทักษะ มีบุคลิกภาพที่ดี และมีคุณสมบัติที่เหมาะสม
       3.  การจัดสรรวัสดุไม่สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนที่เสนอขอในแต่ละปีการศึกษา ทำให้มีปัญหาการขาดแคลนวัสดุที่จำเป็นต้องใช้ในโรงเรียน
       4.  วัสดุอุปกรณ์การศึกษาจัดซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้หรือใช้น้อยมาก 
       5.  ไม่มีการซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์การศึกษาที่ชำรุด ทั้งๆที่ซ่อมแซมได้ ทำให้สูญเสียโดยเปล่าประโยชน์
       6.  ขาดอุปกรณ์การศึกษาประเภทคอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสาร และวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้
       7.  อาคารสถานที่ชำรุด เก่า
        8.  ขาดการวางแผนการใช้อาคารสถานที่
        9.  ขาดการบำรุงรักษาทั้งในด้านความสะอาด การซ่อมแซมส่วนที่ชำรุด เนื่องจากขาดบุคลากรและงบประมาณ   
     แนวทางแก้ไข
        จากปัญหาดังกล่าวควรจะได้รับการแก้ไขเพื่อให้การบริหารงานด้านวัสดุ อุปกรณ์  อาคารสถานที่ให้มีประสิทธิภาพ  ดังนี้
        1.  จัดให้มีการระดมทุนทรัพย์ในการจัดการศึกษาจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐและเอกชนให้ได้มีส่วนร่วมในการจัดหาคอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสารและวัสดุอุปกรณ์พร้อมทั้งปรับปรุงซ่อมแซมอาคารสถานที่เพื่อให้ใช้งานได้
       2.  จัดสรรวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียน
       3.  วัสดุอุปกรณ์การศึกษาที่จัดซื้อมาควรใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
       4.  ซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุดแล้วนำมาใช้ใหม่อย่างมีคุณค่า
       5.  จัดทำทะเบียนวัสดุให้ถูกต้องตามระเบียบและเป็นปัจจุบัน
       6.  ดูแลรักษาวัสดุ อุปกรณ์  อาคารสถานที่และใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
           ซึ่งในการแก้ไขปัญหาด้านการบริหารวัสดุ อุปกรณ์  อาคารสถานที่ ได้นำเอาหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ทฤษฎีจูงใจในการปฏิบัติงานของมาสโลว์  หลักการสร้างทีม หลักการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของโรเจอร์  กระบวนการบริหารของ Gulick และ Urwick  และแนวคิดการวิเคราะห์สภาพโรงเรียน ( SWOT )  จากการดำเนินงานตามหลักการและทฤษฎีดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมปัญหาดังกล่าวก็จะลดลงสถานศึกษามีความน่าดู น่าอยู่ น่าเรียน

**********

ด้านที่ 4    ความรู้  ภูมิปัญญา  เทคโนโลยี  สารสนเทศ

   สภาพปัญหา
      1.  โรงเรียนไม่ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้านมาจัดการเรียนการสอน
      2.  โรงเรียนจัดกิจกรรมไม่มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายหรือไม่สนับสนุนพานักเรียนไปแหล่งเรียนรู้
      3.  ผู้บริหารและครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ
      4.  ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญในการเตรียมบุคลากรใช้เทคโนโลยี
     5.   ผู้บริหารขาดความสามารถในการสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องเห็นประโยชน์และความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยี
     6.  ครูขาดความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการนำเทคโนโลยีไปใช้ คือไม่ได้รับการศึกษาอบรมมาก่อน
     7.  ครูไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้การรับเทคโนโลยีทำได้ยากขึ้น
     8.  อาจารย์ส่วนใหญ่เป็นครูสายปฏิบัติการสอน มีความรู้เฉพาะในเนื้อหาที่ตนสอน ไม่เคยผ่าน
การอบรมในด้านเทคนิคและวิธีวิเคราะห์ระบบสารสนเทศมาก่อน เมื่อผู้บริหารต้องการเก็บข้อมูลก็มอบหมายให้ครู-อาจารย์ดังกล่าวดำเนินการ จึงทำให้ผลปฏิบัติงานไม่ดีเท่าที่ควร สารสนเทศที่ผลิตได้จากระบบไม่สนองวัตถุประสงค์ของโรงเรียน
     9.  สถานที่ใช้เทคโนโลยีโดยไม่เหมาะสม ผิดวัตถุประสงค์ และไม่คุ้มค่า  เช่นใช้เล่นเกมส์ ฟังเพลง แทนที่จะใช้ค้นคว้าเพื่อเตรียมสอน ฉายเทปโทรทัศน์โดยไม่วางแผนก่อนว่าจะให้นักเรียนเรียนรู้เรื่องอะไร
    10.  ขาดสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อการใช้เทคโนโลยี เช่นไม่มีไฟฟ้า
    11.  อาคารสถานที่ไม่เหมาะสม ห้องคับแคบ ไม่มีห้องเก็บอุปกรณ์ โดยเฉพาะอุปกรณ์ราคาแพง
    12.  โรงเรียนไม่ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศในการบริหาร
    13. โรงเรียนไม่ใช้อินเทอร์เน็ตในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
    14.  ขาดบุคลากรทำหน้าที่จัดระบบสารสนเทศโดยเฉพาะงบประมาณด้านวัสดุครุภัณฑ์ในการจัดซื้ออุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศไม่เพียงพอ 
    15.  เทคโนโลยีสื่อสารส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์และไม่มีเครือข่ายข้อมูลสำหรับเชื่อมโยงการใช้ข้อมูลสารสนเทศภายในโรงเรียน  การใช้ข้อมูลทาง internet ส่วนใหญ่มีการใช้ข้อมูลสารสนเทศในการวางแผนและการตัดสินใจในงานวิชาการ
   16.  ปัญหาที่สำคัญของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ขาดงบประมาณและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ขาดวัสดุอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นว่า มีความต้องการสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างมาก
     แนวทางแก้ไข
       จากปัญหาดังกล่าวจึงควรแก้ไขเพื่อให้การบริหารความรู้  ภูมิปัญญา  เทคโนโลยี  สารสนเทศให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ
     1.  ควรมีการเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารโรงเรียน เช่น การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีการประสานงานและสร้างความร่วมมือกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่เสมอ
     2.   ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชน์ชาวบ้านมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
     3.  เชิญวิทยากรภายนอกหรือนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยการเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารโรงเรียน เช่น การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา มีการประสานงานและสร้างความร่วมมือกับภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่เสมอ
     4.  จัดให้มีการสร้างเครือข่ายให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน
     5.  ใช้แหล่งทรัพยากรในท้องถิ่น ที่สามารถให้การสนับสนุนงบประมาณสถานศึกษาในรูปแบบต่างๆ แยกได้ดังนี้
          5.1  บุคคล คือผู้ที่ให้ความช่วยเหลือสถานศึกษา อาจแบ่งได้เป็น 2 พวก คือ
   5.1.1.ผู้ที่มีส่วนได้รับผลประโยชน์จากโรงเรียนโดยตรง ได้แก่ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับโรงเรียน เช่น ครู พระภิกษุ นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้ใช้บริการของโรงเรียนอยู่เป็นประจำ
   5.1.2 ผู้ที่ไม่มีส่วนได้รับผลประโยชน์จากโรงเรียนโดยตรง คือผู้ที่มุ่งช่วยเหลือเพราะศรัทธาต่อบุคลากร หรือการดำเนินกิจการของโรงเรียน คือผู้มีจิตกุศลทั้งหลาย เช่น พระภิกษุ อาสาสมัครในชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน
           5.2. มูลนิธิ สมาคม ชมรม เช่นมูลนิธิช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดแคลน มูลนิธิไทยรัฐ สมาคมครู-ผู้ปกครองนักเรียน สมาคมศิษย์เก่า ชมรมผู้สูงอายุ ฯลฯ
     6.  สร้างภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนมาให้ความรู้
           6.1  องค์กรภาครัฐ เช่น หน่วยงานของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน วัด อำเภอ จังหวัด สภาวัฒนธรรม เทศบาล อ.บ.ต.
           6.2  องค์กรภาคเอกชน เช่น บริษัท ธนาคาร โรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบการ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์
    7.  พัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยี
    8.  บุคลากรต้องตระหนักถึงความเคลื่อนไหวด้านเทคโนโลยีและความจำเป็นที่จะต้องมีการนำเทคโนโลยีมาใช้
    9.  จัดหาคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอ
    10.  สร้างคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดแก่บุคลากรในความรับผิดชอบของตน
    11. ผู้บริหารต้องปรับปรุงตนเองให้มีความรู้ความสามารถ เข้าใจในเรื่องเทคโนโลยี
    12. ผู้บริหารจะต้องสื่อสารให้ผู้ร่วมงานตลอดจนชุมชนตระหนักถึงความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และความจำเป็นที่จะต้องมีการนำเทคโนโลยีมาใช้
   13. ผู้บริหารจะต้องเตรียมความพร้อมให้บุคลากรได้รับการฝึกอบรม และมีการนิเทศภายใน
   14. ผู้บริหารจะต้องพยายามให้มีเทคโนโลยีในรูปแบบของวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นให้เพียงพอ
   15. ผู้บริหารจะต้องพยายามสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดแก่บุคลากรในความรับผิดชอบของตน
          ซึ่งในการแก้ไขปัญหาด้านความรู้  ภูมิปัญญา  เทคโนโลยี  สารสนเทศได้นำเอาหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม ทฤษฎีจูงใจในการปฏิบัติงานของมาสโลว์  หลักการสร้างทีม หลักการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลของโรเจอร์  กระบวนการบริหารของ Gulick และ Urwick แนวคิดการวิเคราะห์สภาพโรงเรียน (SWOT) ทฤษฎี X  และ  Y  ทฤษฎีการจูงใจของเฮอร์ซเบอร์ก  หลักการสร้างทีม  จากการดำเนินงานตามหลักการและทฤษฎีดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ปัญหาดังกล่าวก็จะลดลงสถานศึกษามีความน่าดู น่าอยู่ น่าเรียน

2 ความคิดเห็น:

  1. Harrah's Casino - Mapyro
    Harrah's Casino - 777 Harrah's Rincon Way. San Diego, CA 92082. 전라북도 출장샵 Directions 과천 출장샵 · (760) 925-4390. Call Now · 충청남도 출장안마 More Info. Hours, Accepts 여수 출장안마 Credit 양산 출장마사지 Cards, Wi-Fi. Services. From  Rating: 2.3 · ‎21 reviews

    ตอบลบ